วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2552

ห้องทดลองเชิงปฏิบัติการเคลื่อนที่ การจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทีมนักวิจัยในชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อ : โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต เกมคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ได้เดินทางลงพื้นที่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับโจทย์ของการทำงานใน วันที่ ๒ ของการเดินทางลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการลงไปเพื่อแสวงหาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์

ทางทีมวิจัยได้วางรูปแบบกิจกรรมในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการไว้เป็น ๖ ช่วง
ช่วงที่หนึ่ง กระบวนการขาว เทา ดำ เป็นการให้ผู้เข้าร่วมทดลองดูเกมคอมพิวเตอร์ จำนวน ๑๐ เกม โดยแบ่งเป็นเกมแบบออนไลน์จำนวน ๕ เกม และ เกมแบบออฟไลน์จำนวน ๕ เกม โดยพิจารณาจากเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในร้านเกมคาเฟ่ โดยให้ผู้เข้าร่วมทดลองพิจารณาให้ระดับความเข้มของสีเป็น ๓ สี ก็คือ สีขาว มีเทา และ สีดำ โดยไม่ได้มีการให้นิยามของสีไว้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พิจารณาภายใต้กรอบแนวคิดของตนเอง ซึ่งจะเป็นการพิจารณาโดยใช้สามัญสำนึกของผู้เล่น โดยไม่มีกรอบแนวคิดของผู้นำกระบวนการมาชี้นำ

ช่วงที่สอง กระบวนการให้นิยามสี เป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดของการให้คำนิยามของระดับสีทั้งสามสี ว่า สีขาว สีเทา และ สีดำ หมายถึงอะไร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในการกำหนดนิยามสีระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการ

ช่วงที่สาม นำเสนอผลการจัดระดับสีของเกมคอมพิวเตอร์ เป็นการนำเสนอผลการพิจารณาระดับสีของเกมคอมพิวเตอร์ทั้ง ๑๐ เกม โดยเรียงลำดับจากสีขาวไปยังสีดำ ว่าแต่ละเกมมีระดับสีเป็นอย่างไร แล้วพิจารณาเลือกเกมที่มีระดับสีที่มี่ความชัดที่สุดในแต่ละสีออกมาพิจารณาในช่วงต่อไป

ช่วงที่สี่ กระบวนการสร้างเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดยทีมวิจัยจะแจกกระดาษให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการเพื่อเขียนเกณฑ์ในการจัดระดับความเหมาะสมของเกมอีกครั้งหนึ่ง โดยเขียนแผ่นละหนึ่งประเด็น โดยทีมงานจะนำกระดาษไปติดที่ผนังด้านหนึ่งของห้องโดยจัดกลุ่มและระดับความเข้มของประเด็น

ช่วงที่ห้า หลังจากผ่านช่วงที่ ๔ แล้ว ห้องทดลองก็จะมีเกณฑ์ร่วมกันในการพิจารณาระดับความเหมาสมของเกมคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็จะเป็นการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ ภายใต้ เกณฑ์ที่สร้างให้ห้องทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูเกมในรอบแรกอีกครั้งหนึ่ง แล้วทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกม โดยใช้เกณฑ์ที่สร้างขึ้นในห้องทดลองเชิงปฎิบัติการ ในครั้งนี้ ทีมงานจะแจกสติ๊กเกอร์ให้กับผู้เข้าร่วมทดลอง ๓ สี ก็คือ สีเขียว สีเหลือง และ สีแดง โดยให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการดูทีละเกม และ นำสติ๊กเกอร์ไปแปะที่กระดานหน้าห้องที่รายชื่อเกม และ เกณฑ์ในการพิจาณณาระดับความเหมาะสมของเกมใน ๓ กลุ่ม ก็คือ เพศ ภาษา และความรุนแรง

ช่วงที่หก การสรุปผลการจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดย เชื่อมความรู้ระหว่างพัฒนาการมนุษย์และเกณฑ์ที่ได้จากห้องทดลอง หลังจากผู้เข้าร่วมห้องทดลองได้ทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์เสร็จแล้ว ก็จะให้นักวิชาการด้านจิตวิทยา จิตแพทย์ นักพัฒนาการมนุษย์ หรือ นักประสาทวิทยา ร่วมสรุปผล โดยวิเคราะห์จากผลการทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ที่ได้จากการจัดในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการ โดยพิจารณาจาก ระดับความเข้มข้นของเกณฑ์ และ เรื่องของช่วงอายุของผู้เล่นเกม

รายชื่อตัวอย่างเกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในกระบวนการทดลอง
เกมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในห้องทดลองเชิงปฏิบัติการมีจำนวน ๑๐ เกม โดยแบ่งเป็นเกมในระบบออนไลน์ จำนวน ๕ เกม ก็คือ


(๑) Special force
(๒) Tales Runner
(๓) Audition
(๔) Pangya และ
(๕) Cabal

เกมในระบบออฟไลน์ จำนวน ๕ เกม ดังนี้
(๑) GTA
(๒) Winning
(๓) Guitar hero
(๔) Counter strike
(๕) Need for Speed
เครือข่ายที่เข้าร่วมกระบวนการทดลองเชิงปฏิบัติการ
ในการทำห้องทดลองครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกระบวนการทดลองจำนวน ๓๐ คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการร้านเกมคาเฟ่ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายเด็ก และ เยาวชน เครือข่ายนักวิชาการ














ผลการทำงานในช่วงที่ ๒ ผลการให้คำนิยามเรื่องสี ขาว เทา และ ดำ
ขาว หมายถึง เกมที่สร้างสรรค์ ซึ่งมีผลต่อจินตนาการ มีประโยชน์ในการฝึกความไว มีการฝึกการทำงานเป็นทีม มีผลทางบวกต่ออารมณ์ เช่น คลายเครียด สนุกสนาน ฝึกสมาธิ และเป็นเกมที่เหมาะสำหรับคนทุกวัย โดยไม่มีลกระทบเชิงลบในทางอารมณ์ ไม่มีภาพของการใช้ความรุนแรง ไม่มีเรื่องของพฤติกรรมที่เลยนแบบแล้วเกิดอันตรายสำหรับเด็ก
เทา หมายถึง เกมที่สร้างสรรค์ในลักษณะเดียวกับกลุ่มสีขาว แต่ในส่วนของเนื้อหาของเกมจะเหมาะสำหรับผู้เล่นที่มีอายุมากกว่า ๑๓ ปีซึ่งจำเป็นทีจะต้องได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ เพราะมีเนื้อหามีส่วนดีกับส่วนไม่ดี มีความรุนแรง สามารถสร้างความเครียดให้กับเด็กได้
ดำ หมายถึง เนื้อหาของเกมมีรุนแรงมาก เช่น มีการฆ่าคน มีการทำร้ายคนอื่น มีการใช้อาวุธ มีการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ หยาบคาย
ผลการทำงานในช่วงที่ ๔ การร่วมสร้างเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมห้องทดลองเชิงปฏิบัติการได้ร่วมกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ ดังนี้
ความรุนแรง
· เป็นการปลูกฝังสิ่งไม่ดี ไม่ยินยอม/ต้องชนะ การใช้อารมณ์ จิตใจแข็งกระด้าง ทำให้เด็กซึมซับสิ่งไม่ดีโดยไม่รู้ตัว
· การใช้กำลังทำร้าย การต่อสู้ การขโมยรถคนอื่น ปล้นรถ ไล่ยิง การฆ่าและการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายตำรวจ การใช้อุปกรณ์ทำร้าย การฆ่าคนอื่น การกระทำต่อคนอื่นป่าเถื่อน ความทารุณโหดร้าย อาชญากรรม การละเมิดร่างกายและทรัพย์สินผู้อื่น การทำผิดกฎหมาย การแสดงออกถึงพฤติกรรมการทำร้ายร่างการ/ทรัพย์สินและชีวิต การใช้อาวุธ การสะสมอาวุธที่จะอำนวยความสะดวกในการทำร้ายบุคคลและทรัพย์สิน ยิงด้วยอาวุธสงคราม
· เหตุการณ์อันตราย การใช้ความประมาท การขับรถเร็ว ขับรถชนกัน หวาดเสียว ขับรถเร็ว ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร
เพศ
· การแต่งกาย การแต่งตัวโป๊ หวือหวาทางรูป/ทางซีน แต่งตัวไม่เหมาะสมอาจทำให้เด็กเรียนแบบได้
· สัมพันธภาพทางเพศ การกอดกัน ท่าเต้นไม่สุภาพ-ยั่วยวน การจูบกัน เพศสัมพันธ์
ภาษา
· การพูดด่ากัน พูดไม่สุภาพ พูดคำหยาบ ด่ากัน


ผลการทำงานในช่วงที่ ๕ การทดลองจัดระดับความเหมาะสมของเกมคอมพิวเตอร์ โดยใช้เกณฑ์ที่ร่วมกันยกร่างขึ้นในช่วงที่ ๔ โดยในครั้งนี้ ยกตัวอย่างเกม (๑) GTA พบว่า และ (๒) เกม Audition








อ้างอิงจาก
อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ http://gotoknow.org/blog/archangoh/169157

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น